Affiliates - Free Bootstrap Template
  • HOME
  • PROGRAM
    Welcome Message Keynote Speaker Conference Committee Tentative Program Final Program Best Paper Award
  • PROCEEDING
    ECTI-CARD 2024 Proceedings
  • PAPER
    Call for Papers Paper Guide Paper Submission Paper Presentation Guideline Registration
  • VENUE
    Banquet Venue Accommodation Nearby Transportation
  • CONTACT

  • รศ.ดร. วิชัย
  • แหวนเพชร

  • นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


       การบรรยายพิเศษ (Keynote Speaker) ในการประชุมวิชาการวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 16 (ECTI-CARD 2024) เรื่อง การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 : การท้าทายและโอกาส

        ณ โรงแรมทองธารินทร์ จ.สุรินทร์ จัดโดย จัดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สมาคมวิชาการ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคมและสารสนเทศประเทศไทย และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ


  • พลตำรวจโท นายแพทย์ พรชัย
  • สุธีรคุณ

  • ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มีนาคม 2566 - ปัจจุบัน)


  • เป็นผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา
  • เป็นรองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ,
  • เป็นนายแพทย์ (สบ8) โรงพยาบาลตำรวจ,
  • เป็นผู้ดำเนินการขอรับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 สำหรับห้องปฏิบัติการทั้งหมดของสถาบันนิติเวชวิทยา,
  • ยกระดับการปฏิบัติงานของสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจให้ได้รับการยอมรับ,
  • พัฒนาสถาบันนิติเวชวิทยาเป็นสถาบันเพื่อให้การฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์,
  • เคยเป็นกรรมการบริหารของราชวิทยาลัยพยาธิแห่งประเทศไทย,
  • เคยเป็นรองนายกสมาคม และเลขาธิการสมาคมนิติเวชแพทย์แห่งประเทศไทย
  •            >> ผลงานที่ผ่านมา - เป็นแพทย์รุ่นแรกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขานิติเวชศาสตร์

               >> - เป็นผู้ริเริ่มนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในระบบงานนิติเวชวิทยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

               >> - เป็น CIO กำกับการบริหารราชการสั่งในงานระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลตำรวจ

               >> - กำกับการบริหารราชการสั่งในงานกองบังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ

               >> - เป็นกรรมการ Quality Assurance & Standards Committee ของ Asian Forensic Sciences Network

               >> - เป็นกรรมการจัดงานประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติทางนิติวิทยาศาสตร์ ระดับเอเชีย - แปซิฟิก

               >> - เป็นกรรมการ สมาคมไทย – ออสเตรเลีย ในพระราชูปถัมถ์ของพระบรมโอรสาธิราช


    • รศ.ดร.ธีรสิทธิ์
    • เกษตรเกษม

    • รศ.ดร.ธีรสิทธิ์ เกษตรเกษม ได้รับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พศ. 2538 และได้รับปริญญาโท และ ปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Syracuse University ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พศ. 2542 และ 2545 ตามลำดับ

    • ในปี พศ. 2546 ได้ทำงานในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ รศ.ดร.ธีรสิทธิ์ เกษตรเกษม มีความสนใจในงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรแม่นยำ การแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการเฝ้าติดตามการเพาะปลูก การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาทางการเกษตรและการเงิน การวิเคราะห์สัญญาณและภาพ


           Abstract “ ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเกษตรแม่นยำในประเทศไทย โอกาสและความท้าทาย ”

           การเกษตรแม่นยำคือการเกษตรที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดการข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องจากกับการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และ/หรือเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรแบบต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ ก็เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจนำมาใช้ในการเกษตรแบบแม่นยำ และได้มีงานวิจัยหลากหลายที่ศึกษาการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้แก้ปัญหาทางการเกษตรต่างๆหลากหลาย อย่างไรก็ตามในพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในการเกษตร จำเป็นต้องมีการว่างแผนจัดการและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ คือการหาข้อมูลภาคพื้นดินที่ถูกต้อง ไปจนถึงปลายน้ำ คือการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจด้วย ดังนั้นระบบปัญญาที่จะพัฒนาขึ้นต้องสามารถเข้าใจถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย และสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกร และยังสามารถความร่วมมือในขบวนการต่างๆอีกด้วย ตัวอย่างปัญหาในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเกษตรแม่นยำเช่นการระบุโรคในพืชจากภาพที่ถ่ายจากมือถือเกษตรกรจะถูกนำเสนอ โดยจะแสดงให้เป็นถึงปัญหาที่พบในการได้มาของข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ในการสอนปัญญาประดิษฐ์ที่ประสบคือการได้ข้อมูลมาไม่เพียงพอหรือได้ข้อมูลที่สมบูรณ์อยู่บ่อยครั้ง และแนวทางการการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้ สุดท้ายจะนำเสนอให้เห็นถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ ไปใช้กับเกษตรไทยในรูปแบบที่เกษตรไทยสามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย
               

               >> ดำรงตำแหน่ง กรรมการสมาคมปัญญาประดิษฐ์และประธานด้านการเกษตร


    • นายวีรธรรม
    • ตระกูลเงินไทย

    • นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ ๒๕๕ หมู่ ๑ บ้านท่านสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์“ผมเกิดความคิดว่า อยากจะกลับไปรื้อฟื้นเทคนิคการทอผ้าที่เราเคยเห็นตั้งแต่เด็ก พอดีได้จังหวะที่ อาจารย์สมิทธิ ศิริภัทร์ กับ คุณหญิงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ท่านทั้งสองช่วยศึกษาดูว่า ทำอย่างไรผ้าไหมถึงจะมีความนุ่มเนียนแน่น สามารถกำอยู่ในกำมือเดียวได้เหมือนผ้าสมัยก่อนที่พระองค์ท่านเคยมีเคยรู้จัก พออาจารย์เล่าให้ฟังผมถึงนึกได้ว่า ที่บ้านเกิดเคยมีการทำผ้าแบบนี้และถ้าเราไปรื้อฟื้นหาคนที่ยังมีความรู้อยู่มาช่วยกันทำก็น่าจะสำเร็จ…”

    • ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ในการรื้อฟื้นการทอผ้ายกทองแบบโบราณ จึงทำให้เกิดเป็นผ้าไหมยกทองโบราณของกลุ่มจันทร์โสมาบ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้นำมาตัดเย็บชุดผู้นำประเทศในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ (APEC 2003) และที่สำคัญคือเป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างผ้าคลุมพระอังสาให้กับรัฐบาลเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นที่ของระลึกแด่พระราชอาคันตุกะฝ่ายหญิงเนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้เทคนิค วิธีการ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าไหมของชาวเขมรถิ่นไทย มาพัฒนาต่อยอดเป็นผ้าไหมยกทองโบราณที่มีมูลค่าและคุณค่าสูงจากฐานความเป็นอีสาน


           อีกทั้งยังได้เปิดบ้านจันทร์โสมาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทอผ้า การย้อมสีธรรมชาติ และการงานช่างไทยหลายแขนง อาทิ งานปักพัสตราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างเครื่องทองลงยาราชาวดีเป็นต้น นับเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อสืบสานงานช่างโดยแท้จริง

           อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญในงานเชิงช่างหลายแขนง สามารถผสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเขมรถิ่นไทย รื้อฟื้นงานหัตถศิลป์ผ้าทอยกทองโบราณของราชสำนัก เสริมสร้างเอกลักษณ์ภูมิปัญญาของชาติได้อย่างงดงาม อีกทั้งยังสามารถสร้างให้ชุมชนบ้านท่าสว่างเป็นหมู่บ้านผ้าทอที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกทำให้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้นมาเป็นลำดับ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมผ้าทอมือ) ประจำปี ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

    logo footer
    Website
    • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
    • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
    • ECTI-CARD
    • สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
    Contact Us
    • Tel : 08-5025-9426
    • Email: Supavadee_pet@hotmail.com
    • Facebook page: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
    Download

    Download Proceeding ECTI-CARD 2024

    Download

    Copyright © 2024 Faculty of Industrial Technology - Surindra Rajabhat University